บทที่ 7 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์

อ่าน 10842 | ตอบ 1

รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
 
บทที่ 7   เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่า
3.เข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์
4.บอกความหมาย ความสำคัญ  ประโยชน์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์
5.สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ เรื่อง เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์ได้


 
เศรษฐกิจพอเพียงและการออมทรัพย์
 

1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่
ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน
ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก


2.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้าง
ความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถ
พึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและ
ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้
3.ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ 
และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาค
การเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง
4.หลักการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึง

ถึงอะไรบ้าง
การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 
ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้
          1.ความพอประมาณ
          2.ความมีเหตุผล
          3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม 
ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร 

        ความพอประมาณ หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจอย่าง

พอเพียงตามความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่ และต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม

ตลอดจนพึงนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ

        การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เป็นการเตรียมความพร้อม ความรู้ ที่จะรับผลกระทบ และ

การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้
      1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต
      2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
      3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
      4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูน
        จนถึงขั้นพอเพียง
      5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป

5.การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร
การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่
      1.การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
      2.การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
      3.การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธการเป็นหนี้สิน การกู้ยืมเงิน 

แต่เน้นการบริหารความเสี่ยง คือ แม้ว่าจะกู้ยืมเงินมาลงทุน ก็เพื่อดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิด

ความเสี่ยงมากจนเกินไปแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามไม่ให้ลงทุนหรือขยายธุรกิจ 

แต่เน้นให้ทำธุรกิจที่ไม่ให้เสี่ยงมากเกินไปควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง
 

 
 
 
 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม '3 ห่วง 2 เงื่อนไข' ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ 'พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน' บนเงื่อนไข 'ความรู้' และ 'คุณธรรม'

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
บทสรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข





ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ส่วนคำถามที่ว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ คืออะไร
คำตอบคือ แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร 
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ
3 ห่วง ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน
2 เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้ 
(เงื่อนไขความรู้ 3 ร รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง)
(เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ)
สมดุล 4 มิติ
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม (กิจ ล้อม สัง วัฒนธรรม)

หลักความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก
จิตใจ ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญา 
รอบรู้ รอบครอบ ระมัดระวัง
สังคม ประกอบอาชีพสุจริต 
ทรัพยากร เลิกแก่งแย่งผลประโยชน์ 
เทคโนโลยี ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและแบ่งปัน
เศรษฐกิจ ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุข 

เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากระดับ
ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ (ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม)
ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับหลักธรรม สัปปุริสธรรม 7
1.(ความพอประมาณ)
มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ 
อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน 
2. (ความมีเหตุผล)
ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ 
อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล 
3.(การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว)
กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท ชุมชน
ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อัญเชิญมาครั้งแรกใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตรงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การสร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อใดเรียงลำดับ หลักการสร้างภูมิคุ้มกันกับเกษตรทฤษฎีใหม่ 3 ชั้น
จัดการตน - รวมกลุ่ม – เครือข่าย
หลักสมดุลของปรัชญาเศรษฐกิจข้อใดสำคัญที่สุดในวิสัยทัศน์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1
เศรษฐกิจ
ตาม ROAD MAP พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของ สพฐ. ควรจัดให้มีการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสำหรับชั้นใดโดยเฉพาะ ม.1-3
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน 
1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตเพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา 
2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน 
3.คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ 
- 3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 
- 3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ 
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล 
4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 
- 4.1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 
- 4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 
5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
 
ที่มา 
http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/kkb5.html
 
 
 
 
การออมทรัพย์            
                การออมทรัพย์ เป็นการเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า เพื่อซื้อสิ่งที่ต้องตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์และวางแผนไว้ การออมทรัพย์เกิดจากการเก็บสะสมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายทีละเล็กละน้อยเป็นการชะลอการใช้เงินซึ่งจำนวนเงินที่ออมคือส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่  สำหรับสิ่งจูงใจในการออม คือ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแน่นอน จึงก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความต้องการเป็นสำคัญ เป้าหมายในการออมที่ต่างกันเป็นสิ่งกำหนดให้จำนวนเงินออมและระยะเวลาในการออมทรัพย์แตกต่างกัน ซึ่งในทางทฤษฎี ปกติควรจะเก็บออมประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ที่ได้รับ แต่มิใช่เป็นกฎตายตัวจำนวนเงินออมจะมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับรายได้และความรับผิดชอบของครอบครัวต่อสมาชิกในครอบครัว หากรายได้ที่ได้รับใช้จ่ายเฉพาะตัว ก็สามารถเก็บออมได้ ในอัตราสูง เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงก็จะมีผลต่อการออมด้วย การออมจะทำได้ง่ายสำหรับคนโสด หรือครอบครัวที่ไม่มีลูกที่ต้องเลี้ยงดู
                1.  การออมทรัพย์  หมายถึง การประหยัด การเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคตเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น เช่น เจ็บป่วย หรือเมื่อเข้าสู่วัยชรา การออมทรัพย์ไม่ใช่การเก็บเงินไว้เฉย ๆ แต่อาจจะนำไปฝากธนาคาร ซื้อสลากออมสิน หรือซื้อพันธบัตร หรือการทำประกันชีวิต เพื่อให้เกิดดอกออกผล
                การออมทรัพย์ในวิชาเศรษฐศาสตร์  หมายถึง การออมทรัพย์ในระบบหรือการออมทรัพย์โดยผ่านสถาบันการเงินทุกประเภท ปัจจัยที่จูงใจให้ผู้บริโภคมีการออมทรัพย์ในระบบเพิ่มมากขึ้น มีหลายประการ คือ
                1.1  ผลตอบแทน (ดอกเบี้ย)  ดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินจะเป็นสิ่งจูงใจ โดยตรงต่อการออมทรัพย์ของผู้บริโภค กล่าวคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น จะจูงใจให้มีการฝากเงินออมทรัพย์เพิ่มมาขึ้น
                1.2  ความมั่นคงของสถาบันการเงิน  ความมั่นคงของสถาบันการเงินย่อมเป็นการเพิ่มความมั่นใจ ความปลอดภัยและความศรัทธาแก่ผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้เกิดการออมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น
                1.3  การแพร่กระจายของสถาบันการเงิน ถ้าสถาบันการเงินมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีการแพร่กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เป็นการอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์ของผู้บริโภค ก็จะมีผลทำให้การออมทรัพย์เพิ่มขึ้น
                1.4  การควบคุมระดับราคาสินค้าหรือบริการ ถ้าระดับราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จะทำให้ผู้บริโภคออมทรัพย์น้อยลง เพราะผลตอบแทนจากการออมทรัพย์ไม่สามารถชดเชยการสูญเสียรายได้จากภาวะเงินเฟ้อ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าระดับราคาสินค้าหรือบริการลดลง ย่อมจะทำให้การออมทรัพย์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคจะต่ำลง
                2.  จุดมุ่งหมายในการออมทรัพย์
                การออมทรัพย์เป็นการสะสมอำนาจซื้อในปัจจุบันเพื่อใช้จ่ายในอนาคต การออมทำได้ไม่ยากเพียงกำหนดจุดมุ่งหมายของการออมว่าเป็นการออมทรัพย์ระยะสั้นหรือระยะยาว
                2.1  การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่นการออมเพื่อซื้อสิ่งของที่มีราคาแพงเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงไม่อาจจัดซื้อได้ทันที ต้องเก็บออมเงินให้ได้เท่าจำนวนตามที่ต้องการก่อน
                2.2  การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว เป็นการออมทรัพย์อย่างมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เช่น การออมทรัพย์เพื่อไว้ใช้ในยามสูงอายุ หรือเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ หรือออมทรัพย์เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน หรือเก็บเพื่อซื้อบ้าน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการลงทุนทำกิจการ การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว จึงเป็นการออมทรัพย์เพื่อต้องการความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งจะมีการใช้ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่า การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่น เมื่อเกษียณอายุราชการ หรือพ้นจากการทำงานเมื่อสูงอายุ โดยต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินดอกผลจากการออมในการดำรงชีวิต
 



ที่มา 
http://www.goldenworld-inter.com/index.php?option=com_content&view=article&id
=345:2012-01-03-09-58-50&catid=15:2011-05-24-15-14-05&Itemid=9

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

U
ดีมากๆเลยค่ะ เป็นไกด์นำให้เขียนเรียงความได้ไหลรื่นดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
 
U [101.51.52.xxx] เมื่อ 16/02/2021 12:20
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :